โรงสีข้าวชุมชนตำบลบางคูวัด ตั้งอยู่ที่ หมู่ ๑ บ้านปลายบัว ตำบลบางคูวัด อำเภอเมืองปทุมธานี ก่อตั้งปี พ.ศ. ๒๕๔๖ โดยเทศบาลตำบลบางคูวัด ซื้อที่ดินจำนวน 3 ไร่ เป็นสถานที่ในการก่อสร้างและเป็นผู้สนับสนุนงบประมาณในการสร้างโรงสีข้าว และ กศน.อำเภอเมืองปทุมธานีเป็นภาคีเครือข่ายในการร่วมจัดกิจกรรม มีวัตถุประสงค์ให้โรงสีข้าว เป็นของชุมชน มีคณะกรรมการทำหน้าที่ในการบริหารจัดการกิจกรรมต่างๆ รับซื้อข้าวเปลือก ปลอดสารพิษกับเกษตรกรในตำบลบางคูวัดและตำบลใกล้เคียงที่เข้าร่วมโครงการ และใช้เป็นแหล่งเรียนรู้และศึกษาดูงานการการบริหารจัดการโรงสีข้าวของชุมชนในกับคณะหรือผู้สนใจทั่วไป แหล่งเรียนรู้โรงสีข้าวชุมชนตำบลบางคูวัด ประกอบด้วย
๑ โรงสีข้าวขนาดกลาง สีข้าวได้ประมาณวันละ ๔๐ ตัน จำนวน ๑ แห่ง
๒ เครื่องสีข้าวกล้อง (ข้าวซ้อมมือ) ขนาดเล็ก จำนวน ๒ โรง
๓ โกดังเก็บข้าว จำนวน ๒ แห่ง
๔ ลานตากข้าว จำนวน ๓ แห่ง
โรงสาธิตและผลิตปุ๋ยชีวภาพ ก่อตั้งปี พ.ศ. ๒๕๔๘ โดยเทศบาลตำบลบางคูวัดเป็นผู้สนับสนุนงบประมาณ มีพื้นที่ ๒ ไร่ ๑ งาน สำนักงานเกษตรจังหวัดปทุมธานี สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองปทุมธานี สำนักงานพัฒนาที่ดินจังหวัดปทุมธานี และ กศน. อำเภอเมืองปทุมธานี เป็นภาคีเครือข่ายในการร่วมจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีวัตถุประสงค์จัดตั้งเป็นแหล่งเรียนรู้วิธีการขั้นตอนและเทคนิคการทำปุ๋ยน้ำชีวภาพ ปุ๋ยหมักชีวภาพ และปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด ให้กับเกษตรกรและประชาชนทั่วไป โรงสาธิตและผลิตปุ๋ยชีวภาพ ประกอบด้วย
๕.๑ โรงสาธิตและผลิตปุ๋ยน้ำชีวภาพ จำนวน ๑ แห่ง
๕.๒ โรงสาธิตและผลิตปุ๋ยหมักชีวภาพ จำนวน ๑ แห่ง
๕.๓ โรงสาธิตและผลิตปุ๋ยอัดเม็ดชีวภาพ จำนวน ๑ แห่ง
๕.๔ โรงเก็บผลผลิตปุ๋ยน้ำ/ปุ๋ยหมักและปุ๋ยอัดเม็ดชีวภาพ จำนวน ๑ แห่ง
นายธีรสิญจ์ อยู่ยืน เป็นเกษตรกรที่ทำอาชีพ เกษตรกรรมผสมผสานเริ่มต้น ได้ถูกคัดเลือกเป็นหมอดิน ก็ได้ไปรับการอบรมและมาขยายผลกับกลุ่มเกษตรกรในหมู่บ้าน แต่ส่วนใหญ่ไม่มีผู้ใดให้ความสนใจมากนัก ตนเองก็เลยคิดว่า น่าจะทดลองทำเองดูก่อน ก็ได้ใช้ที่นาของตนทดลอง เริ่มต้นในปี2552
ผู้อำนวยการกศน.อำเภอเมืองปทุมธานีและนายกเทศบาล มีการปรึกษาหารือกันในเรื่องของการแก้ปัญหาความยากจน และการทำอาชีพที่ยั่งยืน ทางองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นก็มีการประสานกับทางกศน. ทำอาชีพนาข้าวปลอดสารพิษในหมู่ ๑ หลังจากการทำประชาคมหมู่บ้าน ก็มีผู้เข้าร่วมโครงการข้าวปลอดสารพิษ 7 ครัวเรือน ทาง กศน.อำเภอเมืองปทุมธานี เข้าทำเวทีประชาคม จึงได้ผลสรุปว่า ให้เริ่มจากปรับดินก่อน นายธีรสิญจ์ อยู่ยืน ได้ใช้ที่นา ๕ ไร่ ที่ติดกับบริเวณบ้านทำการทดลอง