http://bangkuwat.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 กิจกรรมกศน.ตำบลบางคูวัด

 บทความเรื่องน่ารู้

 ข่าวประชาสัมพันธ์กศน.ตำบลบางคูวัด

 รูปภาพ

 เว็บบอร์ด

สถิติ

เปิดเว็บ27/02/2012
อัพเดท27/02/2018
ผู้เข้าชม759,348
เปิดเพจ872,484

กศน.เพื่อนบ้าน

กิจกรรมของ กศน.ตำบลบางคูวัด

ข้อมูลตำบลและสถานที่สำคัญในตำบล

บทความดีๆโดนๆที่ควรอ่าน

เฮฮาขำขัน (^O^)

ปฎิทิน

« April 2025»
SMTWTFS
  12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930   
iGetWeb.com
AdsOne.com

อาเซียน ปี 58? มีดียังไง?

อาเซียน ปี 58? มีดียังไง?

 

 

ธงชาติ






ตราสัญลักษณ์


               สัญลักษณ์อาเซียน คือ ต้นข้าวสีเหลือง 10 ต้นมัดรวมกันไว้ หมายถึงประเทศสมาชิกรวมกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและความก้าวหน้า สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ และ สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง


คำขวัญ

 

"One Vision, One Identity, One Community”

 

วัตถุประสงค์


               จากสนธิสัญญาความสามัคคีและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้มีการสรุปแนวทางของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไว้จำนวนหกข้อ ดังนี้


1. ให้ความเคารพแก่เอกราช อำนาจอธิปไตย ความเท่าเทียม บูรณภาพแห่งดินแดน
     และเอกลักษณ์ของชาติสมาชิกทั้งหมด
 

2. รัฐสมาชิกแต่ละรัฐมีสิทธิที่จะปลอดจากการแทรกแซงจากภายนอก การรุกรานดินแดนและการบังคับขู่เข็ญ
 

3. จะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจการภายในของรัฐสมาชิกอื่น ๆ
 

4. ยอมรับในความแตกต่างระหว่างกัน หรือแก้ปัญหาระหว่างกันอย่างสันติ
 

5. ประณามหรือไม่ยอมรับการคุกคามหรือการใช้กำลัง
 

6. ให้ความร่วมมือระหว่างกันอย่างมีประสิทธิภาพ


 

ประชาคมความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Security Community–ASC)


               มีวัตถุประสงค์ที่จะทำให้ประเทศในภูมิภาคอยู่อย่างสันติสุข แก้ไขปัญหาภายในภูมิภาคโดยสันติวิธี และยึดมั่นในหลักความมั่นคงรอบด้าน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว ประชาคมความมั่นคงอาเซียนจะ
 

               (1) ใช้เอกสารทางการเมืองและกลไกของอาเซียนที่มีอยู่แล้วในการเพิ่มศักยภาพในการแก้ไขปัญหาข้อพิพาทภายในภูมิภาค รวมทั้งการต่อต้านการก่อการร้าย การลักลอบ ค้ายาเสพติด การค้ามนุษย์ อาชญากรรมข้ามชาติอื่นๆ และการขจัดอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง
 

               (2) ริเริ่มกลไกใหม่ๆ ในการเสริมสร้างความมั่นคง และกำหนดรูปแบบใหม่สำหรับความร่วมมือในด้านนี้ ซึ่งรวมไปถึงการกำหนดมาตรฐานการป้องกันการเกิดข้อพิพาท การแก้ไขข้อพิพาท และการส่งเสริมสันติภาพภายหลังจากการเกิดข้อพิพาท
 

               (3) ส่งเสริมความร่วมมือด้านความมั่นคงทางทะเล ซึ่งอาเซียนยังไม่มีความร่วมมือด้านนี้ ทั้งนี้ ความร่วมมือข้างต้นจะไม่กระทบต่อนโยบายต่างประเทศ และความร่วมมือทางทหารของประเทศสมาชิกกับประเทศนอกภูมิภาค


 

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community-AEC)


               ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน กำหนดวัตถุประสงค์ตามวิสัยทัศน์อาเซียน 2020 ที่จะให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความมั่นคง มั่งคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆ ได้ โดย 

 

               (1) มุ่งให้เกิดการไหลเวียนอย่างเสรีของสินค้า การบริการ การลงทุน เงินทุน การพัฒนาทางเศรษฐกิจ และการลดปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางสังคมภายในปี ค.ศ. 2020

 

               (2) มุ่งที่จะจัดตั้งให้อาเซียนเป็นตลาดเดียวและเป็นฐานการผลิต โดยจะริเริ่มกลไกและมาตรการใหม่ๆ ในการปฏิบัติตามข้อริเริ่มทางเศรษฐกิจที่มีอยู่แล้ว

 

               (3) ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียน (กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม หรือ CLMV) เพื่อลดช่องว่างของระดับการพัฒนา และช่วยให้ประเทศเหล่านี้เข้าร่วมในกระบวนการรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียน

 

               (4) ส่งเสริมความร่วมมือในนโยบายการเงินและเศรษฐกิจมหภาค ตลาดการเงิน และตลาดเงินทุน การประกันภัยและภาษีอากร การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการคมนาคม กรอบความร่วมมือด้านกฎหมาย การพัฒนาความร่วมมือด้านการเกษตร พลังงาน การท่องเที่ยว การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยการยกระดับการศึกษาและการพัฒนาฝีมือ

 
               ในการนี้ ผู้นำอาเซียนได้เห็นชอบให้เร่งรัดการรวมกลุ่มสินค้าและบริการสำคัญจำนวน 11 สาขา ให้เป็นสาขานำร่อง ได้แก่ สินค้าเกษตร / สินค้าประมง / ผลิตภัณฑ์ไม้ / ผลิตภัณฑ์ยาง / สิ่งทอ / ยานยนต์ /อิเล็กทรอนิกส์ / เทคโนโลยีสารสนเทศ (e-ASEAN) / การบริการด้านสุขภาพ, ท่องเที่ยวและการขนส่งทางอากาศ (การบิน) ซึ่งอาเซียนได้ดำเนินการดังนี้ 

 
               1) กำหนดให้ประเทศสมาชิกรับผิดชอบในการจัดทำ Roadmap ในแต่ละสาขา ได้แก่ - ไทย: ท่องเที่ยวและและการขนส่งทางอากาศ (การบิน) - พม่า: สินค้าเกษตรและสินค้าประมง - อินโดนีเซีย: ยานยนต์และผลิตภัณฑ์ไม้ - มาเลเซีย: ยางและสิ่งทอ - ฟิลิปปินส์: อิเล็กทรอนิกส์ - สิงคโปร์: เทคโนโลยีสารสนเทศ และการบริการด้านสุขภาพ
 
 
               2) จัดทำกรอบความตกลงว่าด้วยการรวมกลุ่มสินค้าและบริการ 11 สาขาดังกล่าว คือ Framework Agreement for the Integration of the Priority Sectors และพิธีสาร (ข้อตกลง) สำหรับแต่ละสาขา คือ ASEAN Sectoral Integration Protocol อีก 11 ฉบับ เพื่อกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับมาตรการร่วมที่จะใช้ในการรวมกลุ่มสินค้าและบริการสำคัญทุกสาขา โดยมีมาตรการสำคัญคือ การเปิดเสรีการค้าสินค้า การค้าบริการ การลงทุน การอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุน การส่งเสริมการค้าและการลงทุน และความร่วมมือในด้านอื่นๆ
 
  
               3) กำหนดให้ปี ค.ศ. 2010 เป็น deadline สำหรับการรวมตัวของสินค้าและบริการ 11 สาขาดังกล่าว โดยให้มีการผ่อนปรนสำหรับประเทศกัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม
 
 
 
ได้แก่สมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ


 (แถม ด้วย อาเซียน +3 +6)  และ ออสเตเรีย อินเดีย นิวซีแลนด์ จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น

ประโยชน์ที่ไทยได้รับคืออะไร
 
 
1.ประชากรเพิ่มเป็น 600 ล้านคนโดยประมาณ ทำให้เพิ่มศักยภาพในการบริโภค เพิ่มอำนาจการต่อรองในระดับโลก
 
 
2.Economy Scale ยิ่งผลิตมาก ยิ่งต้นทุนต่ำ
 
 
3.มีแรงดึงดูดเงินลงทุนที่อยู่นอกอาเซียนสูงขึ้น
 
 
4.สิบเสียงย่อมดังกว่าเสียงเดียว
 
 
5.เศรษฐกิจจะดีขึ้น? เพราะมีแรงดูดเงินลงทุน (จากข้อ 3)
 
 
6.การค้าเสรี
 
 
 

 
ผลกระทบมีอะไรบ้าง?
 
 
1.การศึกษาในภาพใหญ่ของโลก มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง ต้องไม่ให้การเปลี่ยนแปลงนี้มากระชากลากเราไปอย่างทุลักทุเล เราต้องเตรียมความพร้อมทันที ตลอดเวลา โดยเฉพาะบุคลากรต้องตามให้ทันและยืดหยุ่นปรับตัวให้รับสถานะการณ์ได้
 
 
2.ภาษาอังกฤษจะเป็นภาษากลางของ ASEAN บุคลากรและนักศึกษา ต้องเพิ่มทักษะทางด้านภาษาอังกฤษ ให้สามารถสื่อสารได้
 
 
3.ปรับปรุงความเข้าใจทางประวัติศาสตร์ เพื่อลดข้อขัดแย้งในภูมิภาคอาเซียน (Conflict Management) จึงต้องคำนึงถึงการสร้างบัณฑิตให้มีความรู้ความเข้าใจเรื่อง ASEAN ให้มากขึ้น
 
 
4.สร้างบัณฑิตให้สามารถแข่งขันได้ใน ASEAN เพิ่มโอกาสในการทำงาน ไม่เช่นนั้น จะถูกแย่งงานเพราะเกิดการเคลื่อนย้ายแรงงาน/บริการอย่างเสรี คณะกรรมการวิชาชีพ สภาวิชาชีพ ต้องเตรียมการรองรับผลกระทบนี้อย่างเร่งด่วน
 
 
5.โอกาสในการเป็น Education Hub โดยอาศัยความได้เปรียบในเชิงภูมิศาสตร์ของประเทศไทย แต่ต้องเน้นในเรื่องของคุณภาพการศึกษาเป็นตัวนำ
 
 
6.เราต้องการเครื่องมือในการ Transform คน การเรียนแบบ PBL หรือ Project Based Learning น่าจะได้มีการวิจัยอย่างจริงจังและนำมาปรับใช้  ห้องเรียนไม่ใช่แค่ห้องสี่เหลี่ยมเล็กๆอีกต่อไป ต้องเพิ่มการเรียนจากชีวิตจริง ลงมือทำเป็นทีม อยู่คนละประเทศก็ทำร่วมกันได้ด้วยไม่มีข้อจำกัดทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร ประเด็นนี้ อาจารย์จะสอนได้ยากขึ้น แต่เป็นผู้ที่ช่วยให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้ แสดงว่า อาจารย์ต้องมีความพร้อมมากกว่าเดิมและเก่งจริงๆ
 
 
7.การเข้าเมืองผิดกฎหมายของประชากรต่างด้าวแบบคลื่นซึนามิ เพราะเข้าออกได้อิสระ เพราะแรงงานต่างด้าวกระเหี้ยนกระหือรือที่จะเข้ามาไทย สรุปแรงงานไทยจะไปทำงานตามประเทศอาหรับ หรือ ยุโรป แทน เพราะค่าแรงจะจ่ายให้แรงงานไทยทู๊กถูก
 
 
8.เวลาการปิด-เปิด รร. มหาวิทยาลัยเปลี่ยนไป??
 

การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 9 เมื่อ 7 ตุลาคม 2546 ที่บาหลี อินโดนีเซีย ได้กำหนดจัดทำข้อตกลงร่วมกัน (Mutual Recognition Arrangements : MRAs)เกี่ยวกับคุณสมบัติของวิชาชีพหลัก แรงงานเชี่ยวชาญ หรือผู้มีความสามารถพิเศษ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรี โดยจะเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2558 ในเบื้องต้น ได้ทำข้อตกลงร่วมกันแล้ว 7 สาขา คือ

1.วิศวกรรม (Engineering Services) 

 
 
 
 
                                                                             กว่าจะถึงปี 2558 ก็ รอดูกันไปเน้ออออ :D
 
 
 
 
 
view

 หน้าแรก

 บทความ

 รวมรูปภาพ

 เว็บบอร์ด

 ติดต่อเรา

view